กาญจนบุรี ลักษณะทางภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นป่า ซึ่งจะมีทั้งป่าดงดิบและป่าโปร่ง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 19,473 ตารางกิโลเมตร มีระยะทางห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 129 กิโลเมตร มีชายแดนติดต่อกับประเทศพม่าระยะทางประมาณ 370 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ทิศเหนือ จดจังหวัดตากและจังหวัดอุทัยธานี ทิศใต้ จดจังหวัดราชบุรี ทิศตะวันออก จดจังหวัดสุพรรณบุรีและนครปฐม ทิศตะวันตก จดประเทศพม่า
- คำขวัญประจำจังหวัด : แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่น้ำตก
- ตราประจำจังหวัด : ลักษณ์เจดีย์สามองค์ทรงป้าน เป็นศิลปแบบมอญ สูงประมาณ 6 เมตร
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นขานาง (Homalium tomentosum)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกกาญจนิกา (Santisukia pagetii)
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลายี่สก (Probarbus jullieni)
"บริการเป็นที่ปรึกษา การจัดตั้งพรรคการเมือง"
จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง จัดประชุมตั้งตัวแทนพรรคการเมือง จัดประชุมตั้งสาขาพรรคการเมือง
จัดทำเอกสารโครงการ พรรคการเมือง จัดทำบัญชีพรรคการเมือง จัดทำงบประมาณพรรคการเมือง
สอบถามรายละเอียด
ประวัติศาสตร์
ความเป็นมาของกาญจนบุรี เท่าที่มีการค้นพบหลักฐานนั้น ย้อนไปได้ถึงสมัยก่อนประวัติศาสตร์ เมื่อมีการค้นพบเครื่องมือหินในบริเวณบ้านเก่า อำเภอเมืองฯ ล่วงมาถึงสมัยทวารวดี ซึ่งมีหลักฐานคือซากโบราณสถานที่ตำบลปรังเผล อำเภอสังขละบุรี เป็นเจดีย์ลักษณะเดียวกับจุลประโทนเจดีย์ที่จังหวัดนครปฐม บ้านคูบัว จังหวัดราชบุรี และเมืองอู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี รวมทั้งค้นพบโบราณวัตถุ เช่น พระพิมพ์สมัยทวารวดีจำนวนมาก สืบเนื่องต่อมาถึงสมัยพุทธศตวรรษที่ 16-18 หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ค้นพบคือปราสาทเมืองสิงห์ ซึ่งมีรูปแบบศิลปะแบบขอม สมัยบายน
กาญจนบุรียังปรากฏในพงศาวดารเหนือว่า กาญจนบุรีเป็นเมืองขึ้นของสุพรรณบุรีในสมัยสุโขทัย ครั้นมาถึงสมัยอยุธยา กาญจนบุรีก็มีฐานะเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญจนกระทั่งถึงสมัยกรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ เดิมตัวเมืองกาญจนบุรีเดิมนั้นตั้งอยู่ที่ตำบลลาดหญ้า (บริเวณเขาชนไก่ในปัจจุบัน) ภายหลังจนถึง พ.ศ. 2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นการถาวร ณ เมืองกาญจนบุรีใหม่โดยตั้งอยู่ ณ ตำบลปากแพรก อันเป็นสถานที่บรรจบของแม่น้ำแควใหญ่และแม่น้ำแควน้อย โดยตัวเมืองอยู่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลองกับแม่น้ำแควใหญ่ ซึ่งมีความเหมาะสมทางยุทธศาสตร์และด้านการค้า โดยเริ่มก่อสร้างเมืองเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2374 และสำเร็จในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 และได้แยกออกจากสุพรรณบุรีนับแต่นั้นเป็นต้นมา ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน
ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อมีการจัดรูปแบบการปกครองเป็นมณฑลเทศาภิบาล กาญจนบุรีถูกโอนมาขึ้นกับมณฑลราชบุรี และยกฐานะเป็นจังหวัดกาญจนบุรีในปี พ.ศ. 2467
เหตุการณ์ที่ทำให้กาญจนบุรีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก คือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อญี่ปุ่นตัดสินใจสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ จากชุมทางหนองปลาดุกในประเทศไทย ไปยังเมืองทันบูซายัตในพม่า โดยเกณฑ์เชลยศึกและแรงงานจำนวนมากมาเร่งสร้างทางรถไฟอย่างหามรุ่งหามค่ำ จนทำให้มีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ทั้งจากความเป็นอยู่ที่ยากแค้นและโรคภัยไข้เจ็บที่รุมเร้า ซึ่งภาพและเรื่องราวของความโหดร้ายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปรากฏอยู่ในพิพิธภัณฑ์หลายแห่งในกาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรีแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 อำเภอ 95 ตำบล 959 หมู่บ้าน 206 ชุมชน
อำเภอเมืองกาญจนบุรี
อำเภอไทรโยค
อำเภอบ่อพลอย
อำเภอศรีสวัสดิ์
อำเภอท่ามะกา
อำเภอท่าม่วง
อำเภอทองผาภูมิ
อำเภอสังขละบุรี
อำเภอพนมทวน
อำเภอเลาขวัญ
อำเภอด่านมะขามเตี้ย
อำเภอหนองปรือ
อำเภอห้วยกระเจา