รับปรึกษาจัดตั้งพรรคการเมืองจันทบุรี

จันทบุรี เป็นจังหวัดทางชายฝั่งทะเลภาคตะวันออกของประเทศไทย มีเนื้อที่ 6,388 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ภูเขา ที่ราบสูง ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่งทะเล ในส่วนของพื้นที่ป่าไม้มีประมาณ 3 ใน 10 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดฉะเชิงเทรา และสระแก้วทางทิศเหนือ ทิศตะวันออกติดกับจังหวัดตราดและประเทศกัมพูชา ทิศใต้ติดกับอ่าวไทย และทิศตะวันตกติดกับจังหวัดระยองและชลบุรี อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 245 กิโลเมตร ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดจันทบุรีอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัด โดยอาชีพที่ประชากรในจังหวัดนิยมประกอบอาชีพมากที่สุดคือเกษตรกรรมและประมง และศาสนาที่มีการนับถือมากที่สุดในจังหวัดคือศาสนาพุทธ

จันทบุรีเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ก่อตั้งโดยชนชาติชอง จังหวัดจันทบุรีเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ไทยอยู่ 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีใช้จังหวัดจันทบุรีในการรวบรวมไพร่พลและเสบียงอาหาร ครั้งที่ 2 เกิดสงครามอานัมสยามยุทธในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวและครั้งที่ 3 ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเป็นเมืองประกันหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ปากน้ำในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยความที่จังหวัดจันทบุรีมีความสำคัญต่อเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์หลายเหตุการณ์และมีความหลากหลายทางภูมิประเทศ ส่งผลให้จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีแหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมหลายแห่ง

  • อักษรย่อ จบ
  • คำขวัญประจำจังหวัด : น้ำตกลือเลื่อง เมืองผลไม้ พริกไทยพันธุ์ดี อัญมณีมากเหลือ เสื่อจันทบูร สมบูรณ์ธรรมชาติ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รวมญาติกู้ชาติที่จันทบุรี
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นจัน (Diospyros decandra)
  • ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกเหลืองจันทบูร (Dendrobium friedericksianum)
  • สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาบู่มหิดล (Mahidolia mystacina)

"บริการเป็นที่ปรึกษา การจัดตั้งพรรคการเมือง"

จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง จัดประชุมตั้งตัวแทนพรรคการเมือง จัดประชุมตั้งสาขาพรรคการเมือง
จัดทำเอกสารโครงการ พรรคการเมือง จัดทำบัญชีพรรคการเมือง จัดทำงบประมาณพรรคการเมือง

 

สอบถามรายละเอียด

ประวัติศาสตร์

จันทบุรีเป็นเมืองเก่า จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อกันว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 1,000 ปี สร้างขึ้นโดยชนชาติ ชอง บางตำนานก็ว่าสร้างโดยชนชาติ ขอม หัวเมืองเดิมตามศิลาจารึกเรียกว่า "ควนคราบุรี" ชาวพื้นเมืองเรียกว่า "เมืองกาไว" ตามชื่อผู้ปกครอง เมืองจันทบุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณหน้าเขาสระบาป มีชนพื้นเมืองเดิมอาศัยอยู่เรียกว่า ชาวชอง มีภาษาพูดเป็นภาษาของตนเอง ซึ่งแตกต่างจากภาษาไทยและภาษาเขมร เจ้าผู้ครองเมืองที่ยิ่งใหญ่ในตำนานคือ พระเจ้าพรหมทัต (พ.ศ. 1349-1399) ครั้นถึงปี พ.ศ. 1800 ได้มีการย้ายถิ่นฐานมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านหัววัง ตำบลพุงทลาย ซึ่งอยู่ใกล้กับแม่น้ำจันทบุรีในปัจจุบัน

ต่อมาปี พ.ศ. 2200 ได้ย้ายมาสร้างเมืองใหม่ที่บ้านลุ่ม อยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2310 หลังจากกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีเพื่อใช้เป็นแหล่งสะสมเสบียงอาหารและรวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยาคืนจากพม่า ในคราวนั้นเจ้าเมืองจันทบุรีนามว่าเจ้าขรัวหลาน(ยศเจ้าเมืองจันทบุรีเดิม) ชึ่งราษฎรเลือกขึ้นเมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา โดยหวังว่าพระยาจันทบูร จะช่วยปกป้องรักษาเมืองจันทบุรีให้อยู่รอดสืบต่อไป ได้ต่อต้านกองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยได้พยายามทำทุกวิถีทางเพื่อให้เมืองจันทบุรีอยู่รอดเป็นอิสระ รักษาแผ่นดินไว้ให้ชนชาติบูรพา แต่สุดท้ายก็ต้องปราชัยพ่ายแพ้แก่กองทัพของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยพระองค์ทรงใช้พญาช้างศึกบุกชนกำแพงเมืองจนสามารถเข้าตีเมืองเอาไว้ได้สำเร็จ เจ้าเมืองจันทบุรีได้หลบภัยไปอาณาจักรกัมพูชาจนถึงแก่อสัญกรรม เมืองจันทบุรีจึงตกเป็นของสยามนับแต่นั้นเป็นต้นมา

ต่อมาในปี พ.ศ. 2436 ฝรั่งเศสได้เข้ายึดเมืองจันทบุรีไว้นานถึง 11 ปี เนื่องจากสยามมีข้อพิพาทเรื่องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง โดยฝรั่งเศสกล่าวหาว่าสยามล่วงล้ำดินแดนอาณานิคมของฝรั่งเศส ส่วนสยามได้อ้างว่าดินแดนดังกล่าวเป็นของสยาม ฝ่ายสยามเห็นว่าจะต่อสู้ทางทหารฝรั่งเศสไม่ได้จึงขอเปิดการเจรจา ทางฝรั่งเศสยื่นคำขาด โดยฝ่ายสยามต้องยอมยกดินแดนที่เป็นข้อพิพาทรวมทั้งเกาะทั้งหมดในลำน้ำโขง พร้อมเงินอีกหนึ่งล้านฟรังก์และสามล้านบาท โดยจนกว่าจะดำเนินการเสร็จฝรังเศสจะยึดเมืองจันทบุรีไว้ก่อน แต่เมื่อทางสยามดำเนินการเสร็จ ฝรั่งเศสไม่ได้ถอนกำลังออก ฝ่ายสยามจึงต้องยอมยกเมืองตราดและเมืองประจันตคีรีเขตร์ (เกาะกง) เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี และอีกหนึ่งปีต่อมาสยามยอมยกเมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เพื่อแลกเมืองตราดคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ได้คืนเมืองประจันตคีรีเขตร์แต่อย่างใด ปัจจุบันเมืองประจันตคีรีเขตร์จึงอยู่ในอาณาเขตประเทศกัมพูชา ต่อมามีการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนภูมิภาคเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล จัดตั้งมณฑลจันทบุรี โดยมีเมืองจันทบุรี ระยอง และตราดอยู่ในเขตการปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2476 ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย จึงยกเลิกมณฑลเทศาภิบาลและได้จัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดินใหม่ โดยแบ่งออกเป็นจังหวัดและอำเภอ ดังนั้นเมืองจันทบุรีจึงมีฐานะเป็นจังหวัดจนถึงปัจจุบันนี้

 

ภูมิศาสตร์

ชายหาดแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยอยู่ห่างกรุงเทพมหานครเมืองหลวงของประเทศไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 245 กิโลเมตร จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ทั้งหมด 6,338 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นร้อยละ 16.6 ของพื้นที่ภาคตะวันออก และเท่ากับร้อยละ 1.8 ของพื้นที่ทั้งประเทศ โดยพื้นที่ของจังหวัดเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล ที่ราบสูงและภูเขา ภูมิอากาศของจังหวัดมีลักษณะแบบมรสุมเขตร้อน จุดสูงสุดของจังหวัดอยู่ที่ยอดเขาสอยดาวใต้ ซึ่งเป็นยอดเขาที่มีความสูงที่สุดในภาคตะวันออก โดยมีความสูง 1,675 เมตร

 

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดจันทบุรีมีลักษณะภูมิประเทศอยู่ 3 ลักษณะ คือ 1.ภูเขาและเนินสูง 2.ที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา 3.ที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยในบริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทิศเหนือและทิศตะวันออกของจังหวัดจะเป็นเขตภูเขาสูง เช่น เทือกเขาบรรทัด เทือกเขาจันทบุรี เป็นต้น บริเวณนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำลำธารหลายสาย รวมถึงเป็นแนวที่กั้นเขตแดนระหว่างจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดระยอง จังหวัดฉะเชิงเทราและจังหวัดสระแก้ว ในส่วนของที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขานั้นจะตั้งอยู่ในเขตอำเภอสอยดาว อำเภอโป่งน้ำร้อน พื้นที่ตอนกลางของอำเภอขลุง รวมไปถึงทางตะวันออกของอำเภอมะขาม อำเภอแก่งหางแมว อำเภอเขาคิชฌกูฏ และทางตอนเหนือของอำเภอท่าใหม่ โดยบริเวณนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ราบลูกคลื่น ในส่วนพื้นที่สุดท้ายของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำและชายฝั่งทะเล โดยพื้นที่เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีแม่น้ำไหลผ่าน เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำคลองโตนด ที่ราบลุ่มแม่น้ำพังราด ที่ราบลุ่มแม่น้ำจันทบุรีและที่ราบลุ่มแม่น้ำเวฬุ เป็นต้น โดยส่วนใหญ่แล้วพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตอำเภอนายายอาม เมืองจันทบุรีและขลุง รวมถึงพื้นที่บางส่วนของอำเภอแก่งหางแมว เขาคิชฌกูฏและอำเภอท่าใหม่ สำหรับพื้นที่ชายฝั่งทะเลมักมีลักษณะเป็นที่ราบชายฝั่งทะเลแคบ ๆ มีการทับถมของตะกอนทราย ที่ราบชายฝั่งทะเลบางแห่งอยู่ใกล้ปากแม่น้ำส่งผลให้บริเวณนั้นมีดินโคลนผสมด้วย บริเวณที่พบที่ราบชายฝั่งทะเลได้แก่ พื้นที่ทางตอนใต้ของอำเภอนายายอาม อำเภอท่าใหม่ อำเภอแหลมสิงห์ และอำเภอขลุง

 

ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจังหวัดจันทบุรีตั้งอยู่ในเขตมรสุมเขตร้อน โดยได้รับฝนจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ มีฝนตกชุกติดต่อกันประมาณ 6 เดือนต่อปี โดยเดือนมิถุนายนถึงเดือนสิงหาคมเป็นเดือนที่มีปริมาณน้ำฝนสูงที่สุด ซึ่งอาจมีปริมาณน้ำฝนสูงถึง 500 มิลลิเมตรต่อเดือน จังหวัดจันทบุรีมี 3 ฤดูกาลคือฤดูฝน (พฤษภาคม - ตุลาคม) ฤดูหนาว (ตุลาคม - มกราคม) และฤดูร้อน (กุมภาพันธ์ - เมษายน) โดยที่ฤดูหนาวจะมีอากาศหนาวเย็นช้ากว่าภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือของประเทศ

จังหวัดจันทบุรีมีอุณหภูมิเฉลี่ย 23 - 31 องศาเซลเซียสในแต่ละปี โดยที่อุณหภูมิในแต่ละฤดูของจังหวัดจะไม่มีความแตกต่างกันมากนัก อันเนื่องมาจากการตั้งอยู่ใกล้กับทะเล สำหรับอุณหภูมิในแต่ละฤดูนั้น ฤดูฝนมีอุณหภูมิระหว่าง 24 - 30 องศาเซลเซียส ฤดูหนาวมีอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 22 - 31 องศาเซลเซียส ส่วนในฤดูร้อนมีอุณหภูมิระหว่าง 23 - 33 องศาเซลเซียส

 

ทรัพยากรดินและน้ำ

แม่น้ำจันทบุรี
ทรัพยากรดินในจังหวัดจันทบุรีมีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นดินที่เกิดจากการสลายตัวของหินปูน ทำให้ดินมีความเป็นด่างเหมาะแก่การปลูกผลไม้อันเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจของจังหวัดจันทบุรี ดินมีลักษณะเป็นดินตื้นถึงลึกอันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศ โดยดินส่วนมากของจังหวัดจันทบุรีเป็นดินที่สามารถระบายน้ำออกได้ดีถึงดีมาก อย่างไรก็ตามจังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ดินที่ไม่เหมาะสมกับการทำเกษตรประมาณ 3,000 ตารางกิโลเมตร โดยปัญหาทรัพยากรดินที่พบมากที่สุดคือดินเค็มในบริเวณชายฝั่งทะเล ดินตื้นและดินในพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน

ในส่วนของทรัพยากรน้ำในจังหวัดจันทบุรีนั้น แม้ว่าจังหวัดจันทบุรีจะอยู่ในพื้นที่ทึ่มีฝนตกชุก แต่จันทบุรียังคงประสบกับปัญหาภาวะความแห้งแล้งในพื้นที่ของจังหวัดเนื่องจากแม่น้ำทั้งหมดในจังหวัดเป็นเพียงแม่น้ำสายสั้น ๆ และมีขนาดเล็ก ยกตัวอย่างเช่น แม่น้ำพังราด (30 กิโลเมตร) แม่น้ำวังโตนด (6 กิโลเมตร) แม่น้ำเวฬุ (88 กิโลเมตร)และแม่น้ำจันทบุรี (123 กิโลเมตร)เป็นต้น ส่งผลให้น้ำในแม่น้ำไหลลงสู่อ่าวไทยอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หากมีปริมาณฝนในจังหวัดจันทบุรีมากเกินไป ปริมาณน้ำอาจจะเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ต่าง ๆ ได้อีกด้วย จึงมีการสร้างอ่างเก็บน้ำและเขื่อนเป็นจำนวนมากเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่สำคัญคือ เขื่อนคีรีธาร อ่างเก็บน้ำคลองศาลทราย เขื่อนพลวงและเขื่อนทุ่งเพล

 

สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

เหลืองจันทบูร
จังหวัดจันทบุรีมีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในภาคตะวันออก โดยคิดเป็น 1 ใน 4 ของจำนวนพื้นที่ป่าไม้ทั้งภาค อย่างไรก็ตามหากเปรียบเทียบในอดีตจะพบว่าจังหวัดจันทบุรีสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ไปเป็นจำนวนมาก เพราะเดิมทีจังหวัดจันทบุรีมีเนื้อที่ป่าไม้มากกว่าร้อยละ 50 ของจังหวัดโดยสาเหตุของการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ส่วนใหญ่เกิดจากการลักลอบตัดไม้ การบุกรุกของราษฎรและการขาดการเข้มงวดกวดขันของเจ้าหน้าที่ในปัจจุบันมีการประกาศให้พื้นที่ป่าไม้ของจังหวัดจันทบุรีขึ้นเป็นอุทยานแห่งชาติ 3 แห่งคือ อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น และอุทยานแห่งชาติน้ำตกพลิ้ววนอุทยานแห่งชาติ 1 แห่งคือ วนอุทยานแห่งชาติแหลมสิงห์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 3 แห่งคือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวาย

สำหรับพืชที่ค้นพบในจังหวัดจันทบุรีมีอยู่หลายประเภท ที่สำคัญคือสำรองและจัน ซึ่งถือเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดของจันทบุรี ในส่วนของพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญของจังหวัด ได้แก่ สอยดาว ชะมวง กฤษณา กระวานและเหลืองจันทบูรอันเป็นดอกไม้ประจำจังหวัด นอกจากนี้แล้วในจังหวัดจันทบุรียังค้นพบพืชเฉพาะถิ่นอีกด้วย ยกตัวอย่างเช่น เนตรม่วง (Microchirita purpurea) ซึ่งพบได้เฉพาะในเขตอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวเท่านั้น เป็นต้น

สำหรับในส่วนของสัตว์ป่าในจังหวัดจันทบุรีนั้นพบว่ามีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 122 ชนิด นก 276 ชนิด สัตว์เลื้อยคลานไม่น้อยกว่า 88 ชนิด สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ 29 ชนิดและปลาน้ำจืดอีกกว่า 47 ชนิด จึงนับได้ว่าจังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตค่อนข้างมาก ในจำนวนสัตว์เหล่านี้มีสัตว์ที่สำคัญ ยกตัวอย่างเช่น กบอกหนาม นกกระทาดงจันทบุรี นกแต้วแล้วใหญ่หัวสีน้ำเงินและนกสาลิกาเขียวหางสั้น เป็นต้น ซึ่งสัตว์เหล่านี้เป็นสัตว์ที่สามารถพบได้ในบริเวณจังหวัดจันทบุรีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีสัตว์ที่สำคัญอีกชนิด คือ ปลาบู่มหิดล ที่มีการค้นพบในจังหวัดจันทบุรี แต่มีกระจายตัวอยู่ในจังหวัดระนองและจังหวัดภูเก็ตด้วย

 

จังหวัดจันทบุรีแบ่งการปกครองออกเป็น 10 อำเภอ 76 ตำบล 731 หมู่บ้าน

อำเภอเมืองจันทบุรี

อำเภอขลุง

อำเภอท่าใหม่

อำเภอโป่งน้ำร้อน

อำเภอมะขาม

อำเภอแหลมสิงห์

อำเภอสอยดาว

อำเภอแก่งหางแมว

อำเภอนายายอาม

อำเภอเขาคิชฌกูฏ

จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง
จัดประชุมตั้งตัวแทนพรรคการเมือง
จัดประชุมตั้งสาขาพรรคการเมือง
จัดทำเอกสารโครงการ พรรคการเมือง
จัดทำบัญชี พรรคการเมือง
จัดทำงบประมาณพรรคการเมือง