บึงกาฬ เป็นจังหวัดในประเทศไทย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป โดยแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย
- คำขวัญประจำจังหวัด : ภูทอกแหล่งพระธรรม ค่าล้ำยางพารา งามตาแก่งอาฮง บึงโขงหลงเพลินใจ น้ำตกใสเจ็ดสี ประเพณีแข่งเรือ เหนือสุดแดนอีสาน นมัสการหลวงพ่อใหญ่ ศูนย์รวมใจศาลสองนาง
- ตราประจำจังหวัด : รูปภูทอก บึงโขงหลง และต้นไม้
- ต้นไม้ประจำจังหวัด : ต้นสิรินธรวัลลีหรือต้นสามสิบสองประดง (Bauhinia sirindhorniae)
- ดอกไม้ประจำจังหวัด : ดอกสิรินธรวัลลีหรือดอกสามสิบสองประดง
- สัตว์น้ำประจำจังหวัด : ปลาบู่กุดทิง (Neodontobutis aurarmus)
"บริการเป็นที่ปรึกษา การจัดตั้งพรรคการเมือง"
จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง จัดประชุมตั้งตัวแทนพรรคการเมือง จัดประชุมตั้งสาขาพรรคการเมือง
จัดทำเอกสารโครงการ พรรคการเมือง จัดทำบัญชีพรรคการเมือง จัดทำงบประมาณพรรคการเมือง
สอบถามรายละเอียด
ประวัติศาสตร์
การตั้งถิ่นฐาน
บึงกาฬ เดิมเป็น อำเภอไชยบุรี ในเขตการปกครองของ จังหวัดนครพนม ซึ่งมีที่ว่าการอำเภอ ตั้งอยู่ที่บริเวณปากน้ำสงคราม ไชยบุรี เดิมชื่อ "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" อยู่ในเขตการปกครองของเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของไทยในสมัยนั้น ตามแผ่นศิลาจารึกที่วัดไตรภูมินั้น ประวัติของเมืองไชยบุรี ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2351 หัวหน้าชาวไทยญ้อชื่อ ท้าวหม้อและนางสุนันทา ได้พาบุตรและบ่าวไพร่ อพยพโยกย้ายผู้คนพลเมืองจากเมืองหงสา (ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ตอนเหนือเมืองหลวงพระบาง) อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง ลงมาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณปากน้ำสงครามในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้รวบรวมผู้คนมาสร้างเมืองใหม่ขึ้น และตั้งชื่อว่า “เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี” ขึ้นตรงต่อเมืองเวียงจันทน์ เจ้าผู้ครองนครเวียงจันทน์ ได้ตั้งให้ท้าวหม้อเป็นพระยาหงสาวดี และท้าวเล็กน้องชายท้าวหม้อเป็นอุปฮาดวังหน้า ท้าวหม้อมีบุตรชายคนโตชื่อท้าวโสม
พ.ศ. 2357 ได้สร้าง"วัดศรีสุนันทามหาอาราม"ต่อมาเรียกว่า"วัดไตรภูมิ" ซึ่งได้พบแผ่นศิลาจารึกในวัดนี้แปลออกมาได้ความว่า "พระศาสนาพุทธเจ้า ล่วงลับไปแล้ว 2357 พรรษา พระเจ้าหงสาวดีทั้งสองพี่น้องได้มาตั้งเมืองใหม่ในที่นี้ให้ชื่อว่า "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" ในปีจอ ฉศก ตรงกับปีกาบเล็ด ในเดือน 4 แรม 11 ค่ำ วันอังคาร ภายนอกมีอาญาเจ้าวังหน้าเสนาอำมาตย์สิบร้อยน้อยใหญ่ ภายในมีเจ้าครูพุทธา และเจ้าชาดวงแก้ว เจ้าชาบา เจ้าสีธัมมา เจ้าสมเด็จพุทธา และพระสงฆ์สามเณรทุกพระองค์ พร้อมกันมักใคร่ตั้งใจไว้ยังพุทธศาสนา จึงให้นามวัดนี้ว่า "วัดศรีสุนันทามหาอาราม" ตามพุทธบัญญัติสมเด็จพระองค์เจ้า ซึ่งมีจิตตั้งไว้ในพุทธศาสนาสำเร็จในปีกดสี เดือน 5 เพ็ญวันจันทร์ มื้อฮวงมด ขอให้ได้ตามคำมัก คำปรารถนาแห่งปวงข้าทั้งหลาย เทอญ"
ชื่อเดิมตามศิลาจารึกว่า "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" นั้นหมายถึงเมืองที่มีชัยชนะและอุดมสมบูรณ์ ที่ได้ชื่ออย่างนี้ก็เพราะว่า ในสมัยที่ตั้งเมืองนั้นมีการทำสงครามระหว่างกรุงเทพฯ - เมืองเวียงจันทน์ - ญวนอยู่บ่อยๆ สำหรับเรื่องความอุดมสมบูรณ์นั้นเล่ากันว่า ไชยบุรีเป็นเมืองที่ "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" อย่างอุดมสมบูรณ์เพราะตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำสงครามจึงจับปลา ได้อย่างสะดวก และไม่ได้พูดเกินความจริงเลยว่า สมัยเมื่อ 40-50 ปีที่ผ่านมา ปลาในแม่น้ำโขงแม่น้ำสงครามมีมาก ขนาดที่เพียงแต่พายเรือเลียบไปตาม ริมฝั่งน้ำในเวลา ประมาณ 1 ทุ่มเป็นต้นไปโดยพายไปเบาๆ พอไปถึงจุดใดจุดหนึ่งแล้วก็กระทึบเรือ หรือขย่มเรือให้มีเสียงดังก็มีปลา (ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลาสร้อย) ตกใจแล้วกระโดดเข้าไปในเรือเองเป็นจำนวนมาก ทำอย่างนี้ไปประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้นก็ได้ปลาเหลือใช้แล้ว แจกญาติพี่น้อง แต่ภายหลังมาเปลี่ยนเป็น "ไชยบุรี" นั้นก็เพราะว่า ค่านิยมในเรื่องภาษา หรือการใช้ภาษาในท้องถิ่นนี้ ไม่ชอบพุดคำยาวๆ เช่น "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" ก็ใช้เพียงคำ หัว กับ ท้าย ส่วนกลางตัด ดังนั้นจึงเหลือเพียง "ไชยบุรี" เท่านั้น เพราะเรียกง่ายและจำง่าย
ตำนานเล่าขานว่าไชยบุรีไม่ได้เป็นเมืองของผู้ไทยโดยแท้ แต่มีตำนานสอดคล้องกับชาวผู้ไทย ไชยบุรีเดิมเป็นเมืองปากน้ำศรีสงครามตามพงศาวดารรัชกาลที่ 3 (พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2505 เล่ม 2 หน้า 179) ว่าได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมยกขึ้นเป็นเมืองในสมัยรัชกาลที่ 3 การยกขึ้นเป็นเมืองคราวนี้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงเล่าว่า มีเรื่องประหลาดที่หม่อมฉันไปทราบความในท้องถิ่นว่า
".....ดั้งเดิมราษฎรเมืองท่าอุเทนกับเมืองไชยบุรี ซึ่งอยู่ในแนวลำน้ำโขงติดต่อกันอพยพหนีไปอยู่ทางฝั่งซ้ายใกล้แดนญวน พวกชาวเมืองไชยบุรีกลับมาก่อนเห็นว่าที่นาเมืองท่าอุเทนดีจึงพากันไปตั้งอยู่ที่เมืองท่าอุเทน เมื่อชาวเมืองท่าอุเทนกลับมาพบเห็นว่าบ้านเดิมของตนกลับเป็นของคนอื่นแล้ว จึงพากันไปตั้งอยู่เมืองไชยบุรี ราษฎรก็ไขว้เมืองกันมาตั้งแต่นั้น.....” ( สาส์นสมเด็จโรงพิมพ์คุรุสภา พ.ศ. 2504 เล่ม 6 หน้า 297 )
ตามหนังสือฝั่งขวาแม่น้ำโขงกล่าวว่าได้โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ยกบ้านปากน้ำสงครามขึ้นเป็นเมืองไชยบุรี
เมื่อ พ.ศ. 2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์ ท้าวหม้อกลัวภัยจึงอพยพพาครอบครัวบ่าวไพร่หนีไปเมืองปุงลิง เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี จึงเป็นเมืองร้าง เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพระยาราชสุภาวดี (สิงห์) แม่ทัพไทยยกทัพมาปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ครั้งที่ 2 ได้จัดราชการหัวเมืองภาคอีสานด้วย ( พ.ศ. 2369-2371 )โดยสั่งให้พระยาวิชิตสงครามตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนม ให้ราชวงศ์ (แสน) จากเมืองเขมราฐ เป็นนายด่านตั้งกองรักษาปากน้ำสงคราม คุมไพร่พลไปตั้งอยู่ "เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี" ซึ่งเป็นเมืองร้าง โดยมีท้าวไชย กรมการเมืองยโสธร (ท้าวไชย บุตรอุปฮาด เมืองอุบลราชธานี) ท้าวขัตติยะ กรมการเมืองอุบลราชธานีพาไพร่พลเมืองยโสธรและเมืองอุบลราชธานีมาเป็นกำลังรักษาด่านด้วย) เมื่อปราบขบถจนราบคาบแล้ว ต่อมาเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)จึงได้ทูลขอรัชกาลที่ 3ปูนบำเหน็จ ได้มีท้องตราราชสีห์แต่งตั้งให้ ราชวงศ์ (แสน) เป็น พระยาไชยราชวงษา ปกครองเมืองไชยบุรี (เมืองไชยสุทธิ์อุตมบุรี) ซึ่งเป็นต้นตระกูล “เสนจันทร์ฒิไชย” ในปัจจุบัน
เมื่อปราบปรามกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์จบลงแล้ว พ.ศ. 2376 พระยามหาอำมาตย์ (ป้อมอมาตยกุล) เป็นแม่ทัพตั้งอยู่ ณ เมืองนครพนมอีกครั้งหนึ่ง ได้ไปกวาดต้อนผู้คนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงตามแนวบริเวณใกล้กับแดนญวน อันมีกลุ่มชาติพันธ์ต่างๆเช่น ผู้ไท ข่า โซ่ กะเลิง แสก ญ้อ และโย้ย ให้เข้ามาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง เพื่อมิให้เป็นกำลังแก่เจ้าอนุวงศ์ และญวน และได้เกลี้ยกล่อมชาวเมืองปุงเลง ซึ้งเป็นชาวไทยญ้อให้กลับมาด้วย โดยมาตั้งถิ่นฐานที่บ้านท่าอุเทนร้าง ริมฝั่งขวาแม่น้ำโขง เป็นที่ตั้งเมืองใหม่ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3 มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ท้าวพระปทุม เจ้าเมืองปุงเลง เป็น'''พระศรีวรราช''' เจ้าเมืองท่าอุเทนคนแรก ต้นตระกูล“กิตติศรีวรพันธ์” ในปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. 2384 โดยมีพระมหาสงครามเป็นแม่ทัพ ได้เกณฑ์กองทัพจากเมืองท่าอุเทน เมืองไชยบุรี เมืองสกลนคร เมืองแสน รวมกำลังพล 3,300 คน พงศาวดาร รัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2505 เล่ม 2 หน้า 60 ซึ่งพอจะสันนิษฐานได้ว่าเมืองไชยบุรีได้ตั้งเป็นเมืองอย่างมั่นคงแล้ว จากสาส์นตราเจ้าพระยาจักรีสมัยรัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2381 ได้กล่าวถึงเมืองไชยบุรีว่า อนึ่ง หลวงศรีโยธา หมื่นภิรมย์รักษา ข้าหลวง หลวงประสิทธิ์สงครามกองนอกเมืองนครราชสีมา พระสุนทรราชวงษา พระยาไชยสุนทรเมืองกาฬสินธุ์ บอกไว้แต่ก่อนว่าครอบครัวเมืองคำเกิด บ้านนาอาว นาซอง ชาย หญิง ใหญ่น้อย 200 คน ได้ข้ามมาทางเมืองไชยบุรี เจ้าเมืองกรมการเมืองไชยบุรีว่าครอบครัวนี้เป็นครอบครัวเวียงจันทน์ อุปฮาดราชวงศ์เมืองคำเกิด คำม่วน ว่าเป็นครอบครัวเมืองคำเกิด เมืองคำม่วน เวียงจันทน์ชักเอาไป ครั้นเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์แตกไปอยู่เมืองมหาชัย เจ้าอนุเวียงจันทน์มอบครอบครัวนี้ให้เมืองคำเกิด คำม่วนตามเดิม เจ้าเมืองไชยบุรีก็ส่งครอบครัวคืนให้ไป 67 คน ชักเอาไว้ที่เมืองไชยบุรี 133 คน ครอบครัวเมือง คำเกิด คำม่วน ข้ามมาทางเมืองท่าอุเทน ชาย หญิง ผู้ใหญ่ 153 คน พระศรีวรราชเจ้าเมืองท่าอุเทน ชักเอาไว้ 30 คน และส่งไปอยู่ที่บ้านแซงกระดาน 123 คน นั้นพระสุนทรราชวงษากับพระไชยวงษาเจ้าเมืองไชยบุรีราชบุตรเมืองท่าอุเทน เจ้าเมืองท้าวเพี้ยเมืองคำเกิด เมืองคำม่วนลงไปพร้อม ณ กรุงเทพมหานคร ก็ได้ว่ากล่าวด้วยครัวรายเมือง (รายงาน) เมืองคำเกิด คำมวน(คำม่วน ) ซึ่งเกี่ยวข้องกับ เมืองไชยบุรี เมืองท่าอุเทน พระไชยวงษา ราชบุตรเมืองท่าอุเทนว่า ครอบครัวเมืองไชยบุรีกับเมืองท่าอุเทนมีความสมัครใจ เจ้าเมือง ราชบุตร ท้าวเพี้ยเมืองคำเกิด เมืองคำมวน(คำม่วน) ก็ยอมให้ครอบครัวอยู่ตามใจสมัครนั้น ครอบครัวฟากตะวันออกเข้าสวามิภักดิ์ว่าพากันข้ามมาแต่โดยดีมีตราขึ้นมาแต่ก่อนว่าครัวจะสมัครใจอยู่เมืองไหนก็ให้อยู่ตามใจสมัครที่แจ้งอยู่ในท้องตราแต่ก่อนแล้วนั้น และครัวเมืองคำเกิด เมืองคำมวน(คำม่วน) ซึ่งสมัครใจอยู่เมืองไชยบุรี 133 คน สมัครใจอยู่เมืองท่าอุเทน 30 คน เจ้าเพี้ยเมืองคำเกิด เมืองคำมวน(คำม่วน) ก็ยอมให้ครัวอยู่ตามใจสมัครชอบอยู่แล้ว ( นายถวิล เกสรราช สันนิษฐานว่าจากหลักฐานก็เป็นที่ทราบดีอยู่แล้วว่า เจ้าเมืองไชยบุรีนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นพระไชยวงษาแต่ไม่ปรากฏชื่อตัว สำหรับอุปฮาดราชวงศ์และราชบุตรก็ค้นหาไม่พบว่ามีชื่อว่าอย่างไรบ้าง )
พ.ศ. 2457 มีประกาศพระบรมราชโองการ ลงวันที่ 6 เมษายน 2457 ปรับปรุงเขตอำเภอสำหรับการปกครองในมณฑลอุดรธานีได้กล่าวถึง อำเภอไชยบุรี ท้องที่อำเภอโพนพิสัยนั้น ตามลำน้ำของ(โขง) ไปทางใต้ราว 4,000 เส้น กรมการอำเภอโพนพิสัย ดูงานไม่ทั่วถึงและอำเภอไชยบุรี ก็ตั้งอยู่บัดนี้ก็ใกล้อำเภอท่าอุเทนเกินไป จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตัดท้องที่อำเภอโพนพิสัยตอนใต้ ไปรวมกับท้องที่อำเภอไชยบุรี และให้ย้ายที่ว่าการอำเภอไชยบุรีมาตั้งที่บ้านบึงกาญจน์จรดริมแม่น้ำของ(โขง)ฝั่งตรงข้ามเมืองบริคันฑ์ แขวงเวียงจันทน์ เพราะเป็นศูนย์กลางเหมาะแก่การปกครองท้องที่อำเภอ และอำเภอไชยบุรีก็ยังคงขึ้นเมืองนครพนมตามเดิม(ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 31 หน้า 48 ลงวันที่ 12 เมษายน 2457 )
ครั้นในปีต่อมา พ.ศ. 2459 มีประกาศพระบรมราชโองการเรื่อง โอนอำเภอไชยบุรีไปขึ้นจังหวัดหนองคาย ลงวันที่ 22 มีนาคม 2459 มีความว่าทรงทราบฝ่าละอองธุรีพระบาทว่าอำเภอไชยบุรี ซึ่งเป็นอำเภอขึ้นจังหวัดนครพนมเวลานี้ ( พ.ศ. 2459) มีท้องที่และระยะทางห่างไกลจากจังหวัดนครพนมมาก เป็นการลำบากแก่ราษฎรที่อยู่ในแขวงอำเภอไชยบุรี ผู้มีกิจสุขทุกข์จะมายังจังหวัดนครพนมและทั้งไม่เหมาะแก่การปกครอง จึงทรงพระราชดำริว่าสมควรจะโอนอำเภอไชยบุรี มาขึ้นจังหวัดหนองคาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้โอนอำเภอไชยบุรีมาขึ้นจังหวัดหนองคาย ตั้งแต่บัดนี้ (พ.ศ. 2459) เป็นต้นไป (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 33 หน้า 320 – 321 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2459 )
ซึ่งตามนัยเนื้อหาของพระบรมราชโองการแสดงให้เห็นและเข้าใจว่า หมายถึงการโอนเมืองไชยบุรีที่ตั้งที่ว่าการอยู่ที่บ้านบึงกาญจน์ จนกระทั่งมีการไปขึ้นกับจังหวัดหนองคาย แล้วต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอบึงกาญจน์ ขึ้นกับจังหวัดหนองคาย ส่วนบ้านปากน้ำสงครามที่เป็นเมืองไชยบุรีเดิมนั้นก็ยังคงมีชื่ออยู่ มิได้โอนไปขึ้นกับจังหวัดหนองคายแต่อย่างใด ยังคงมีฐานะเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนมอยู่เหมือนเดิม ดังปรากฏ หลักฐานในประกาศเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่รับพระราชโองการให้เรียกชื่ออำเภอทั่วราชอาณาจักร ลงวันที่ 24 เมษายน 2460 มีความว่า อำเภอไชยบุรี ในจังหวัดนครพนมนั้นคงให้เรียกชื่ออำเภอไชยบุรีตามเดิม ( ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 34 หน้า 60 ลงวันที่ 29 เมษายน 2460 ) ซึ่งเวลาต่อมาได้ถูกยุบลงให้เป็น ตำบลไชยบุรี ขึ้นอำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม
พ.ศ. 2475 ข้าราชการกระทรวงมหาดไทยท่านหนึ่งเดินทางมาตรวจราชการที่อำเภอไชยบุรี จังหวัดหนองคายพบว่า หมู่บ้านบึงกาญจน์ มีหนองน้ำใหญ่แห่งหนึ่ง กว้างประมาณ 160 เมตร ยาวประมาณ 3,000 เมตร มีน้ำขังตลอดปี ชาวบ้านได้อาศัยน้ำในบึงแห่งนี้บริโภคและใช้สอย ชาวบ้าน เรียก "บึงกาญจน์" เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป จึงได้พิจารณาและจัดทำรายงานไปยังกระทรวงมหาดไทย ขอเปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอไชยบุรีเป็น "อำเภอบึงกาญจน์" ตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2477 ทางราชการได้พิจารณาเห็นว่า บึงกาญจน์ ซึ่งแปลว่าน้ำสีทองนั้น ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง เพราะน้ำเป็นสีคล้ำค่อนข้างดำ จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่ให้สอดคล้องกับความหมาย และความเป็นจริงของน้ำในบึงว่า “บึงกาฬ” ทางการจึงได้เปลี่ยนชื่อ อำเภอบึงกาญจน์ เป็น"อำเภอบึงกาฬ" เพื่อความสะดวกและเข้าใจง่าย นายอำเภอคนแรกคือ รองอำมาตย์โท พระบริบาลศุภกิจ (คำสาย ศิริขันธ์) ต่อมาได้แยกอำเภอเซกา อำเภอพรเจริญ อำเภอศรีวิไล และ อำเภอบุ่งคล้า ออกจากอำเภอบึงกาฬ ตามลำดับ
การจัดตั้ง
ใน พ.ศ. 2537 นายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย เสนอให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้น โดยกำหนดจะแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย รวมเป็นท้องที่ทั้งหมด 4,305 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรประมาณ 390,000 คน[6] อย่างไรก็ดี กระทรวงมหาดไทย แจ้งผลการพิจารณาว่า ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐ ซึ่งจะขัดกับมติคณะรัฐมนตรี
โครงการร้างมาเกือบ 20 ปี กระทั่ง พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง เพื่อยก "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." ผลการสำรวจความเห็นของประชาชนจังหวัดหนองคายในคราวเดียวกัน ปรากฏว่า ร้อยละ 98.83 เห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อมา วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น โดยให้เหตุผลว่า
- เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในเรื่องอำเภอ จำนวนประชากร และลักษณะพิเศษของจังหวัด อีกทั้งยังเป็นผลดีต่อการให้บริการแก่ประชาชน
- จังหวัดหนองคายเป็นพื้นที่แนวยาวทอดตามแม่น้ำโขง จึงมีผลต่อการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดน
- จังหวัดหนองบัวลำภูและจังหวัดอำนาจเจริญที่เคยตั้งขึ้นใหม่ก็มีเนื้อที่น้อยกว่าหลักเกณฑ์มติคณะรัฐมนตรีเช่นกัน
- จังหวัดที่ตั้งขึ้นใหม่ไม่ให้บริการสาธารณะซ้ำซ้อนกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ บุคลากรจำนวน 439 อัตรา สามารถกระจายกันในส่วนราชการได้ ไม่มีผลกระทบมากนัก
ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติ มีว่า
...เนื่องจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัดที่มีท้องที่ติดชายแดน และมีลักษณะภูมิประเทศเป็นแนวยาว ทำให้การติดต่อระหว่างอำเภอที่ห่างไกลและจังหวัดเป็นไปด้วยความยากลำบาก และใช้ระยะเวลาในการเดินทางมากเกินควร ดังนั้น เพื่อประโยชน์ในการจัดระเบียบการปกครอง การรักษาความมั่นคง และการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในท้องที่ สมควรแยกอำเภอบึงกาฬ อำเภอเซกา อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย ออกจากการปกครองของจังหวัดหนองคาย รวมตั้งขึ้นเป็นจังหวัดบึงกาฬ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
นอกจากมาตรา 3 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ให้จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ โดยมีองค์ประกอบเป็นอำเภอทั้งแปดข้างต้นแล้ว มาตรา 4 ยังให้เปลี่ยนชื่อ "อำเภอบึงกาฬ" เป็น "อำเภอเมืองบึงกาฬ" ด้วย
เมื่อวันที่ 22-25 มีนาคม พ.ศ. 2554 ได้มีการจัดงานฉลองจังหวัดบึงกาฬอย่างยิ่งใหญ่ โดยมี นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานในพิธี ต่อมารัฐสภาได้มีมติเห็นชอบ "ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. ..." เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจึงถวายร่างพระราชบัญญัติให้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงลงพระปรมาภิไธย โดยทรงลงเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 นำประกาศเป็น "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 และใช้บังคับในวันรุ่งขึ้น
การปกครองแบ่งออกเป็น 8 อำเภอ 53 ตำบล 615 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองบึงกาฬ
อำเภอพรเจริญ
อำเภอโซ่พิสัย
อำเภอเซกา
อำเภอปากคาด
อำเภอบึงโขงหลง
อำเภอศรีวิไล
อำเภอบุ่งคล้า