จัดประชุมใหญ่พรรคการเมือง
จัดประชุมตั้งตัวแทนพรรคการเมือง
จัดประชุมตั้งสาขาพรรคการเมือง
จัดทำเอกสารโครงการ พรรคการเมือง
จัดทำบัญชี พรรคการเมือง
จัดทำงบประมาณพรรคการเมือง
  • " มาตรา 4 พรรคการเมือง หมายความว่า คณะบุคคลที่รวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองโดยได้จดทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 "
  • กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองที่สอดคล้องกันมารวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมือง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการสรรหาและคัดเลือกบุคคลเข้าสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อำนาจบริหารและนิติบัญญัติ
  • ม.18
  • ยื่นคำขอแจ้งการเตรียมการ (พ.ก. 1)
    - ชื่อ
    - ชื่อย่อ
    - ภาพเครื่องหมายของพรรคการเมือง
  • ภายใน 180 วัน นับแต่วันที่นายทะเบียน รับแจ้ง ต้องยื่นคำขอจดจัดต้องพรรค ถ้ามิได้ยื่นภายในระยะเวลาดังกล่าว คำขอนั้นสิ้นผล !!!
  • ไม่น้อยกว่า 15 คน
  • ไม่ซ้ำ ไม่พ้อง หรือคล้ายคลึงที่มี่ ผู้แจ้งหรือจดจัดตั้งไว้แล้ว
  • บุคคลซึ่งมคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ตาม ม.9
  • ต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม ม.14

1.ผู้ร่วมจัดตั้ง 500 คน ขึ้นไป
2.มีอุดมการณ์ทางการเมืองเดียวกัน
3.สัญชาติไทยโดยการเกิด/ แปลงสัญชาติมาแล้วไม่น้อยกว่า5 ปี
4.อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี
5.ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิรับเลือกตั้งตาม ม. 98 (1) (2) (4) (5) (6 (7) (8) (9) (10) (11) (14) (16)(17) หรือ (18) ของรัฐธรรมนูญ
6.ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งห้ามดำรงตำแหน่งทางการเมือง
7.ไม่เป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่น หรือผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมืองอื่นหรือผู้แจ้งเตรียมการจัดตั้งพรรคการเมืองอื่น

ทุนประเดิมไม่น้อยกว่า 1ล้านบาท

-ผู้ร่วมจัดตั้งทุกคนต้องร่วมกันจ่าย
-คนละไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
-แต่ไม่เกินคนละ 50,000 บาท

พรรคต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้....

ภายใน 1 ปี : ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 5,000 คน
สาขาพรรคการเมืองในแต่ละภาค อย่างน้อยภาคละ 1 สาขา และต้องมีสมาชิกที่มี ภูมิลำเนาในเขตพื้นที่แต่500คนขึ้นไป
ภายใน 4 ปี : ต้องดำเนินการให้มีสมาชิกไม่น้อยกว่า 10,000 คน

1.คณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง
2.คณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง
3.สาขาพรรคการเมือง
4.ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
5.สมาชิก

1.หัวหน้าพรรคการเมือง
2.เลขาธิการพรรคการเมือง
3.เหรัญญิกพรรคการเมือง
4.นายทะเบียนสมาชิก
5.กรรมการบริหารอื่นตามที่กำหนดในข้อบังคับ

หน้าที่ของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองที่สำคัญมีดังนี้

1.ควบคุมและกำกับดูแลมิให้สมาชิกกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย
2.ให้ความเห็นชอบในการ จัดทำแผนหรือโครงการที่จะดำเนินกิจกรรมทางการเมืองซึ่งอย่างน้อยในแต่ละปี ต้องดำเนินกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างตามมาตรา 23 และส่งให้นายทะเบียนทราบภายในเดือนเมษายนของทุกปี
3.คำดำเนินการเกี่ยวกับการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด
4.บริหารการเงิน ทรัพย์สิน และประโยชน์อื่นใดของพรรคการเมือง สาขาพรรคการเมือง และตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด รวมทั้งจัดทำบัญชีให้ถูกต้องตามความเป็นจริง
5.มีหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมมิให้นำเงินหรือทรัพย์สินของพรรคการเมืองไปใช้จ่ายนอกจากที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย

 

องค์ประกอบ ตามบททั่วไป

  • กรรมการบริหารพรรคการเมือง จำนวนไม่เกินกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง
  • หัวหน้าสาขาพรรคการเมือง จำนวนตามข้อบังกับพรรคการเมือง อย่างน้อยต้องมีไม่น้อยกว่า 4 สาขา ซึ่งมาจากต่างภาคกันตามที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
  • ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด จำนวนตามข้อบังคับพรรคการเมือง

องค์ประกอบ ตามบทเฉพาะกาล

  • กรรมการบริหารพรรคการเมือง จำนวน 4 คน
  • หัวหน้าสาขาพรรคการเมืองและตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ซึ่งเลือกกันเองจนครบจำนวน 7 คน ในกรณีมีรวมกันไม่ถึง 7 คน ให้พรรคการเมืองจัด ให้มีการเลือกตัวแทนสมาชิกเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ครบ จำนวน 7 คน การเลือกกันเองหรือการเลือกตัวแทนสมาชิกให้เป็นไปตามข้อบังกับพรรคการเมือง

อำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้ง

  • ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและแบบบัญชีรายชื่อ ให้ได้ผู้ซึ่งมีความสามารถ ซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรมจริยธรรม ตามมาตรฐานจริยธรรมที่กำหนดในข้อบังคับพรรค เพื่อดำเนินการให้ได้มาซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตและผู้สมัคร รับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ทั้งนี้วิธีการดำเนินการเป็นไปตามที่ระบุไว้ในมาตรา 50 และมาตรา 51

 

  • ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่นายทะเบียนพรรคการเมืองรับจดทะเบียน พรรคการเมืองต้องดำเนินการจัดให้มีสาขาพร รคการเมือง ในแต่ละภาคตามประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง บัญชีรายชื่อภาคและจังหวัด พ.ศ. 2560 อย่างน้อยภาคละ 1 สาขา รวม 4 สาขา แต่ละสาขาต้องมีสมาชิกที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตของสาขานั้น ตั้งแต่ ร00 คนขึ้นไป ตามมาตรา ๓๓ (๒)
  • พรรคการเมืองใดมีจำนวนสาขาพรรคการเมืองเหลือไม่ถึงภาคละ 1สาขา เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 1 ปี พรรคการเมืองย่อมสิ้นสภาพความเป็นพรรคการเมือง

หน้าที่ของสาขาพรรคการเมืองที่สำคัญ ได้แก่

1.จัดทำบัญชีรายชื่อพร้อมที่อยู่ของสมาชิก
2.แจ้งเป็นหนังสือให้หัวหน้าพรรคทราบ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับที่ตั้งสาขา กรรมการสาขาหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับสาขาพรรคการเมืองนั้น
3.จัดการประชุมเพื่อให้สมาชิกลงคะแนนเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเลือกบุคคลในบัญชีรายชื่อตามบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมาพร้อมการรายงานผลการลงคะแนน
4.ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5.จัดให้มีการประชุมใหญ่สาขาพรรคการเมือง

  • มิได้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ หรือ สาขาพรรคการเมือง
  • มีสมาชิกซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตเลือกตั้งในจังหวัดนั้น เกิน 100 คน
  • มาจากการเลือกของสมาชิก
  • เพื่อดำเนินกิจกรรมของพรรคในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ

หน้าที่ของตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดที่สำคัญ ได้แก่

1.จัดทำบัญชีรายชื่อพร้อมที่อยู่ของสมาชิกที่มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดที่เป็นที่ตั้งของตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด

2.แจ้งเป็นหนังสือให้หัวหน้าพรรคทราบ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับที่ตั้งของตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด หรือ การเปลี่ยนแปลงใดๆ เกี่ยวกับตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัดนั้น

3.จัดการประชุมเพื่อให้สมาชิกลงคะแนนเลือกผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งและเลือกบุคคลในบัญชีรายชื่อตามแบบบัญชีรายชื่อที่คณะกรรมการสรรหาส่งมาพร้อมการรายงานผลการลงคะแนน

  • นายทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองมีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง
  • สมาชิกภาพของสมาชิกเริ่มตั้งแต่ได้ชำระค่าบำรุงพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในข้อบังคับ พรรคการเมือง อย่างน้อยไม่น้อยกว่าปีละ 100 บาท หรือชำระแบบตลอดชีพไม่น้อยกว่า 2,000 บาท พร้อมทั้งจัดเก็บเอกสารประกอบการรับสมัครสมาชิกพรรคการเมือง และจัดทำทะเบียนสมาชิกพรรคการเมืองให้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง ตามแบบ ท.พ. 1 เก็บรักษาไ ว้ ณ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของพรรคการเมือง

สำหรับพรรคการเมืองเก่า พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.๒๕๖๐ และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๕๓/๒๕๖. มาตรา ๑๔๐ กำหนดให้ ...

  • สมาชิกเดิมซึ่งประสงค์จะเป็นสมาชิกพรรคการเมืองต่อไป
  • มีหนังสือยืนยันการเป็นสมาชิกต่อหัวหน้าพรรค + หลักฐานฯ + ชำระค่าบำรุงฯ
  • ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๑
  • เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว.. สมาชิกผู้ใดมิได้มีหนังสือแจ้งยืนยันการเป็น สมาชิกให้เป็นอันพ้นจากสมาชิกของพรรคนั้น
  • จัดให้มีการประชุมใหญ่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดของค์ประกอบขององค์ประชุมใหญ่ ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับพรรคการเมือง ซึ่งรวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่า 250 คน ประกอบด้วย

1. กรรมการบริหารพรรคการเมือง ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด
2. ผู้แทนของสาขาพรรคการเมือง ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสาขาพรรคการเมือง
3. ตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของตัวแทนพรรคการเมืองประจำจังหวัด
4. สมาชิกพรรคการเมือง

  • การลงมติในที่ประชุมใหญ่ของพรรคการเมือง
    1. ให้กระทำโดยเปิดเผย
    2. เว้นแต่ กรณีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง และการเลือกตั้งคณะกรรมการสรรหาผู้สมัครรับเลือกตั้งของพรรคการเมือง
  • การประชุมใหญ่ของสาขาพรรคการเมือง

- ต้องดำเนินการจัดให้มีการประชุมใหญ่ให้เป็นไปตามที่กำหนดในข้อบังคับพรร
- องค์ประกอบขององค์ประชุมใหญ่ รวมกันทั้งหมดไม่น้อยกว่า 100 คน ประกอบด้วย
1. กรรมการสาขาพรรคการเมือง ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการสาขาพรรคการเมืองทั้งหมด
2. สมาชิกของสาขาพรรคการเมือง ให้ลงคะแนนลับ

ช่องทารการ ติดต่อสอบถาม


ที่อยู่: 44/14 ซอย นิมิตใหม่ 12 แขวงทรายกองดิน เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร 10510

โทร: 083-622-5555